1.
หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 (ระดับชั้นอนุบาล 1-3)
การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยง
และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทีสนองต่อธรรมชาติ
และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม – วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่
ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน
เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
1.
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2.
ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม
และวัฒนธรรมไทย
3.
พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4.
จัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
5.
ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
2.
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ประถมศึกษา 1-6, มัธยมศึกษา 1-6)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร
มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคม
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้
เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม
3.
หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2546
มุ่งเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อศาสนาอิสลาม
โดยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
๑. มีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูล และปฏิบัติตามหลักคำสอนของอิสลาม ตลอดจนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
๒.
สามารถให้ความคิดเห็นและเหตุผลในการวินิจฉัย พิจารณาปัญหาต่าง ๆ
โดยปราศจากความงมงาย
มีความคิดสร้างสรรค์
ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
ประเทศชาติ และประชาคมโลก
๓.
มีความรู้ ความเข้าใจ
และมีทักษะในกลุ่มสาระตามหลักสูตรและวิทยาการต่าง ๆ
สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของสังคมมุสลิมให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
๔.
มีความภูมิใจในความเป็นมุสลิมที่ดี
มีระเบียบวินัย
มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
๕.
มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า
๖.
เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง
และสามารถปฏิบัติตนตามหลักการอิสลามได้อย่างถูกต้อง
๗.
รักการออกกำลังกาย
ดูแลตนเองให้มีสุขภาพ
และบุคลิกภาพที่ดี
๘.
รักประเทศชาติและท้องถิ่น
มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม
๙.
มีความสามัคคี
รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสันติสุข
|